Plan Do Review
กระบวนการ Plan Do Review (PDR)
1. การวางแผน (Plan) | |||
1.1 การแนะนำมุม แนะนำของเล่น (อยู่ระหว่างดำเนินการ) | |||
1.2 การวางแผนการเล่น” | |||
“Q: การวางแผนการเล่นสำคัญอย่างไร”
การวางแผนการเล่น เป็นการฝึกให้เด็กคิดถึงสิ่งที่ตนสนใจ อยากทำมากที่สุดในแต่ละวัน เด็กได้คิด และกำหนดสิ่งที่ตนจะทำ ผ่านการวางแผนการเล่นง่ายๆ แค่เพียงว่าเขาจะไปเล่นมุมไหนและเล่นอะไร รวมไปถึงการแก้ปัญหาง่ายๆ ที่เกิดขึ้นและกำหนดแผนการสำรองสำหรับตัวเด็กเอง เช่น มุมนี้เต็ม เพื่อนเลือกครบจำนวนคนแล้ว เขาจะเลือกมุมไหนแทนดี ซึ่งกระบวนการวางแผนนี้จะฝึกและพัฒนาเด็กให้รู้จักคิด รู้สิ่งที่ตนต้องการ กำหนดเป้าหมายของตนเองได้ มีแผนการสำรอง รวมไปถึงยอมรับปัญหาและหาวิธีแก้ปัญหาได้ เมื่อเด็กฝึกฝนบ่อยๆ เกิดเป็นความเคยชิน เขาจะนำไปใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันของตน ต่อไปในอนาคตเด็กจะสามารถคิดว่าตนเองอยากทำอะไร กำหนดเป้าหมายของตนเอง และวางแผนเพื่อให้ตนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ |
|||
“Q: เริ่มต้นฝึกเด็กวางแผนการเล่นอย่างไร”
คำถามง่ายๆ ที่ทำได้ยาก…… แต่ไม่ยากเกินความสามารถของครูแน่นอน ขั้นตอนแรก เริ่มจากการวางแผนแบบปากเปล่า การวางแผนปากเปล่า คือ เด็กบอกครูว่าจะไปเล่นมุมไหนโดยไม่ใช้สัญลักษณ์และแผ่นวางแผน บอกเฉยๆ ด้วยคำพูด ช่วงแรกที่เริ่ม หลังจากแนะนำมุมแล้ว (สงสัยเรื่องนี้ อ่านเพิ่มเติมในหัวข้อการแนะนำมุมและสื่อ) ครูอาจดำเนินการได้ ดังบทสนทนานี้ ครู : เด็กๆ คะ ต่อไปเราจะวางแผนการเล่นกัน เด็กๆ เลือกไว้ในใจว่าจะเล่นมุมไหน แล้วพอครูถามก็บอกครูทีละคนนะคะ ครูเรียกเด็กมาถามทีละคน ครู : น้องเนย วันนี้น้องเนยจะเล่นมุมไหนคะ น้องเนย : เล่นมุมบ้านค่ะ ครู : โอเคค่ะ น้องเนยไปเล่นมุมบ้านนะคะ เชิญค่ะ ครูชี้หรือผายมือไปทางมุมบ้าน เพื่อเป็นสัญญาณให้น้องเนยเดินไปที่มุมบ้าน และย้ำทิศทาง/ที่ตั้งของมุมบ้านให้น้องเนยสามารถเดินไปได้ถูกทาง ครู : น้องพัฒ บอกครูได้ไหมคะ วันนี้เล่นมุมไหนคะ น้องพัฒ : ไปมุมวิทย์ครับ ครู : น้องพัฒไปเล่นมุมวิทยาศาสตร์นะคะ ไปได้เลยค่ะ ครูชี้หรือผายมือไปทางมุมวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นสัญญาณให้น้องพัฒเดินไปที่มุมวิทยาศาสตร์ และย้ำทิศทาง/ที่ตั้งของมุมวิทยาศาสตร์ให้น้องพัฒสามารถเดินไปได้ถูกทาง บอกและถามย้ำๆ ซ้ำๆ ทุกวันแบบนี้ เด็กเริ่มเรียนรู้การวางแผนแน่นอน เพียงแต่ครูต้องใช้เวลาและความอดทนมากพอสมควร ขั้นที่ 2 เมื่อถามไปสัก 2 – 3 สัปดาห์ เด็กเริ่มบอกและเลือกอย่างมั่นใจและรวดเร็ว ครูสามารถเพิ่มทักษะการวางแผนของเด็กได้ โดยเพิ่มคำถาม ดังบทสนทนานี้ ครู : เด็กๆ คะ ต่อไปถึงช่วงวางแผนแล้ว เด็กๆ เลือกไว้ในใจแล้วใช่ไหมคะว่าจะเล่นมุมไหน วันนี้เด็กๆ ลองคิดเพิ่มนะคะว่าไปในมุมแล้วจะเล่นอะไร เช่น วันนี้คุณครูอยากไปเล่นมุมบ้าน ครูจะไปเล่นซักผ้ารีดผ้า จากนั้นครูเรียกเด็กมาวางแผนทีละคน ครู : น้องเนย วันนี้น้องเนยจะเล่นมุมไหนคะ น้องเนย : ไปมุมบล็อกค่ะ ครู : น้องเนยจะไปเล่นอะไรในมุมบล็อกคะ น้องเนย : ไปต่อบ้านค่ะ ครู : ไปต่อบ้านที่มุมบล็อกนะคะ เชิญค่ะ ครูชี้หรือผายมือไปทางบล็อก เพื่อเป็นสัญญาณให้น้องเนยเดินไปที่บล็อก และย้ำทิศทาง/ที่ตั้งของบล็อกให้น้องเนยสามารถเดินไปได้ถูกทาง ครู : น้องพัฒ บอกครูได้ไหมคะ วันนี้เล่นมุมไหนคะ น้องพัฒ : มุมวิทย์ครับ ครู : น้องพัฒไปมุมวิทยาศาสตร์ จะเล่นอะไรคะ น้องพัฒ : สำรวจไดโนเสาร์ครับ ครู : ไปสำรวจไดโนเสาร์มุมวิทย์นะคะ เชิญค่ะ ครูชี้หรือผายมือไปทางมุมวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นสัญญาณให้น้องพัฒเดินไปที่มุมวิทยาศาสตร์ และย้ำทิศทาง/ที่ตั้งของมุมวิทยาศาสตร์ให้น้องพัฒสามารถเดินไปได้ถูกทาง |
|||
“Q: แค่บอกว่าจะไปเล่นมุมไหนไม่พอหรือ”
เมื่อเด็กสามารถบอกคุณครูได้ว่าวันนี้จะไปเล่นมุมไหนแสดงว่าเขาสามารถตัดสินใจ เลือกทำในสิ่งที่ตนเองต้องการในขั้นต้นได้แล้ว แต่ถ้าหากเขาสามารถบอกได้ด้วยว่าจะไปทำอะไรในมุมที่เลือกจึงจะถือเป็นการวางแผนที่น่าสนใจและพร้อมจะกำหนดเป้าหมายของตน เพราะนอกจากจะเลือกว่าเล่นมุมไหนแล้ว การเลือก ตัดสินใจว่าในบรรดาของเล่นทั้งหลายในมุม เขาจะเล่นอะไรถือเป็นการคิดและวางแผนระยะยาวอีกด้วย |
|||
“Q: ทำไมเริ่มจากการวางแผนปากเปล่า”
คำตอบง่ายมากๆ เลยทีเดียวเชียว เพราะเราควรเริ่มต้นแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ เริ่มให้เด็กคิดและเลือกแบบง่ายๆ ก่อน การวางแผนปากเปล่าเปรียบเสมือนกับแค่การคุยกันระหว่างครูกับเด็กเท่านั้น ครูถาม-เด็กตอบ อีกทั้งเด็กยังไม่งงกับภาพมุม ไม่งงกับแผ่นวางแผน ซึ่งจะทำให้วางถูกวางผิดไปหมด การเริ่มต้นแค่เลือกและบอกคุณครูว่าจะเล่นมุมไหน ง่ายๆ แค่นี้เขาก็ได้ไปเล่นมุมสมใจอยากแล้ว การเริ่มทันทีด้วยแผ่นวางแผน จะเหมือนกับทุกอย่างทุ่มไปที่เด็ก เด็กกดดัน แผ่นอะไรก็ไม่รู้ ต้องทำอะไรบ้างก็ไม่รู้ เด็กงง ทำอะไรไม่ถูก ครูก็งง หงุดหงิดว่าทำไมไม่เลือกสักที ทุกอย่างวุ่นวายไปหมด ทำให้การเริ่มต้นวางแผนการเล่นมีปัญหามากมาทีเดียว ดังนั้น การเริ่มจากวางแผนแบบปากเปล่า จึงเป็นการเริ่มต้นที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก เด็กสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเด็กวางแผนปากเปล่าได้แล้ว จึงค่อยขยับขยายไปใช้แผ่นวางแผนต่อไป |
|||
“Q: ถ้าเด็กไม่พูด ไม่ตอบตอนวางแผนจะทำอย่างไร “
ครูปฐมวัยทุกคนย่อมต้องเคยเจอเด็กพูดน้อย ไม่ค่อยพูด ไม่ค่อยตอบคำถามอยู่ในห้องเรียนของตนปีละคนสองคน บางปีอาจจะมากถึงสี่ห้าคนเลยทีเดียว แล้วอย่างนี้ในกิจกรรมการวางแผน ที่เด็กต้องพูด ต้องบอกครูว่า หนูจะไปเล่นมุมไหน เด็กกลุ่มนี้จะเป็นอย่างไรกันนะ ช่วงเริ่มต้นถ้าคุณครูเจอเด็กที่ไม่พูด ไม่ตอบตอนวางแผน คุณครูอาจให้เด็กใช้วิธีการชี้ไปยังมุมที่ต้องการ ดังเช่นบทสนทนานี้ ครู : น้องฟ้า วันนี้ไปเล่นมุมไหนคะ น้องฟ้า : …. ครู : น้องฟ้าอยากไปเล่นมุมไหนคะ ชี้บอกคุณครูก็ได้ค่ะ ไปมุมไหนดีคะ ถ้าวันนั้นน้องฟ้ารู้สึกมั่นใจ น้องฟ้าก็จะชี้มือไปยังมุมใดมุมหนึ่งที่เขาสนใจ เช่น ถ้าน้องฟ้าชี้ไปมุมศิลปะ ครู : น้องฟ้าไปมุมศิลปะใช่ไหมคะ เชิญค่ะ ครูชี้หรือผายมือไปทางมุมศิลปะ เพื่อเป็นสัญญาณให้น้องฟ้าเดินไปที่มุมศิลปะ และย้ำทิศทาง/ที่ตั้งของมุมศิลปะ ให้น้องฟ้าสามารถเดินไปได้ถูกทาง แต่ถ้ายังเงียบอยู่ล่ะ…. ครู : น้องฟ้า ไปมุมบ้านไหมคะ น้องฟ้า : … (ยังคงเงียบอยู่) ครู : น้องฟ้า ไปเล่นมุมบล็อกไหมคะ ถ้าน้องฟ้าพยักหน้า ครู : น้องฟ้าไปเล่นที่มุมบล็อกได้เลยค่ะ ครูชี้หรือผายมือไปทางบล็อก เพื่อเป็นสัญญาณให้น้องฟ้าเดินไปที่มุมบล็อก และย้ำทิศทาง/ที่ตั้งของบล็อกให้น้องฟ้าสามารถเดินไปได้ถูกทาง ถ้าน้องฟ้าไม่ชี้ ไม่ตอบ ไม่บอก ไม่พยักหน้าล่ะ จะทำอย่างไรดี น้องฟ้าอาจจะใช้วีธีการมองมุมที่สนใจอยากเล่นแทนหรืออาจจะไม่มีปฏิกริยาใด แต่คุณครูก็สามารถบอกน้องฟ้าให้เดินไปเล่นในมุมที่น้องฟ้าสนใจได้เลย ให้คุณครูสังเกตมุมที่น้องฟ้าไปเล่น ลองถามน้องฟ้าซ้ำอีกครั้งในสัปดาห์ถัดไป แต่ถ้าเจอโจทย์ยากที่สุด คือไม่ยอมเลือก ยืนนิ่ง ไม่ไปไหน อาจจะเพราะยังไม่พร้อมที่จะเลือก หรือตัดสินใจไม่ได้ คุณครูก็ต้องเป็นผู้ตัดสินใจแทนและชักชวนเขาไปเล่นในมุมนั้นด้วยกันกับคุณครู เช่น “วันนี้คุณครูจะไปเล่นมุมหนังสือ น้องฟ้าไปอ่านนิทานในมุมหนังสือกับคุณครูไหมคะ” โดยเริ่มจากมุมใดมุมหนึ่งในห้องก่อน แล้วค่อยสลับเปลี่ยนมุมไปเรื่อย คอยสังเกตการเล่นของเด็กในแต่ละมุมว่าเขาชอบเล่นมุมไหนที่สุด สัปดาห์ถัดมาเริ่มลองถามถึงมุมที่จะไปเล่นใหม่อีกครั้ง ปฏิบัติเช่นนี้ซ้ำเรื่อยๆ แล้วเด็กที่ไม่พูด ไม่บอกก็จะค่อยๆ สามารถวางแผนโดยการมอง ชี้ และบอกครูได้ในที่สุด |
|||
“Q: นานแค่ไหนจะเริ่มใช้แผ่นวางแผน “
คำตอบก็คือ จนครูเริ่มสังเกตว่าเด็กสามารถวางแผนปากเปล่าได้ดีมากพอแล้ว หากจะระบุให้ชัดเจนยิ่งขึ้น คือเด็กแสดงพฤติกรรมดังนี้อย่างน้อย 3 พฤติกรรม 1) เด็กจำกลุ่มของตนเองได้ หรือบอกได้ว่าตนเองอยู่กลุ่มไหน 2) เด็กจำวันที่ตนเองจะวางแผนได้ หรือบอกได้ว่าวันไหนที่ตนต้องวางแผน (จันทร์ – ศุกร์) 3) เด็กสามารถวางแผนปากเปล่าได้ทุกคน หรืออย่างน้อยร้อยละ 80 ของเด็กในห้อง 4) เด็กสามารถบอกได้ทันทีว่าจะเล่นมุมไหนเมื่อครูถาม 5) เด็กสามารถเดินไปเล่นในมุมที่ตนเลือกได้ถูกมุม ถ้าเด็กทำไม่ได้ทุกคน อย่างน้อยร้อยละ 80 ของจำนวนเด็กในห้องทำได้แล้วก็สามารถเริ่มใช้แผ่นวางแผนได้ เราไม่สามารถระบุช่วงเวลาที่แน่นอนของการเริ่มใช้แผ่นวางแผนได้ เพราะความพร้อมของเด็ก อายุของเด็ก จำนวนเด็กในห้องล้วนเป็นปัจจัยสำคัญ ในห้องเด็ก 4 ขวบที่มีเด็กประมาณ 20 คน อาจจะใช้เวลา 2 – 3 สัปดาห์จึงเริ่มใช้แผ่นวางแผน เด็ก 3 ขวบ อาจจะใช้เวลา 4 – 5 สัปดาห์ แต่ถ้าเด็กเล็ก 2 ขวบ อาจจะใช้เวลานานถึง 7 – 8 สัปดาห์เลยทีเดียวจึงจะเริ่มใช้แผ่นวางแผนได้ แต่ถ้าจำนวนเด็กในห้องน้อยกว่านี้ อาจจะใช้เวลาน้อยกว่านี้ก็เป็นไปได้ ดังนั้น ข้อมูลจากการสังเกตของครูจึงเป็นข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินที่ดีที่สุด ว่าเด็กๆ พร้อมจะวางแผนโดยใช้แผ่นวางแผนหรือยัง |
|||
“Q: ทำอย่างไร เมื่อเด็กวางสัญลักษณ์บนแผ่นวางแผนผิดที่ “
เมื่อเริ่มใช้แผ่นวางแผนใหม่ๆ เด็กย่อมงงและไม่สามารถทำได้ในทันที สิ่งที่จะพบได้แน่นอน ก็คือเด็กวางสัญลักษณ์ของตนผิดที่บนแผ่นวางแผน เช่น วางผิดกลุ่ม หรือวางผิดมุมที่ต้องการไป ถ้าหากคุณครูพบเช่นนี้ วิธีการที่คุณครูควรทำก็คือ 1) ถามซ้ำว่าเด็กจะไปมุมไหน 2) ถามว่าบนแผ่นวางแผนมุมที่ต้องการไปคือภาพใด ให้เด็กลองชี้ที่ภาพมุมที่ต้องการไป 3) ถามว่าเด็กอยู่กลุ่มไหน 4) ลองให้เด็กใช้มือซ้ายจิ้มไปที่กลุ่มของตน มือขวาจิ้มไปที่ภาพมุมที่ต้องการไป และค่อยๆ ลากตามเส้น จนทั้งสองมือมาชนกัน แล้วบอกว่าจุดนั้นคือจุดที่เด็กต้องวางสัญลักษณ์ของตน 5) เด็กลองวางสัญลักษณ์บนแผ่นวางแผนใหม่อีกครั้ง |
|||
“Q: เด็กใช้เวลาคิดนานตอนวางแผน ทำให้ใช้เวลานานมากในการวางแผนการเล่น ”
ในห้องที่มีของเล่นหลากหลาย น่าสนใจ เด็กๆ ก็มักจะอยากเล่นไปหมดทุกมุม ทำให้บางคนลังเล เลือกไม่ถูกว่าจะเล่นมุมไหนดี คิดนานเวลาวางแผน จนทำให้ใช้เวลานานมากในการวางแผนการเล่น วิธีแก้ง่ายๆ ก็คือ ก่อนเริ่มวางแผนคุณครูสามารถพูดกระตุ้นเด็กได้ก่อนเลย เช่น ครู : “เดี๋ยวเราจะวางแผนการเล่นกัน เด็กๆ คิดไว้เลยนะคะว่า วันนี้อยากจะไปเล่นมุมไหน คิดไว้แล้วจะได้มาบอกคุณครูทันที แล้วจะได้ไปเล่นเร็วๆ” ถ้าคุณครูพูดกระตุ้นแล้ว ยังมีเด็กบางคนที่คิดนาน เลือกไม่ได้สักที คุณครูอาจจะต้องกระตุ้นเป็นรายบุคคล ระบุชื่อไปเลย เช่น ครู : “น้องหนึ่งวันนี้คิดไว้หรือยังคะ ว่าจะไปเล่นมุมไหน น้องหนึ่งลองคิดและเลือกไว้เลยนะคะ”
|
|||
“Q: พัฒนาการในการวางแผนการเล่นของเด็กเป็นอย่างไร” | |||
“Q: เด็กเลือกมุมที่จะไปเล่น แต่มีเด็กคนอื่นๆ เล่นในมุมนั้นอยู่แล้วหลายคน (มุมนั้นเต็ม)”
การให้เด็กเล่นในมุมควรต้องกำหนดจำนวนคนเล่นต่อมุม โดยพิจารณาจากพื้นที่ห้อง พื้นที่ของมุม จำนวนของเล่นในมุม และจำนวนเด็กในห้อง เช่น เด็กในห้องมี 25 คน มีมุม 5 มุม ดังนั้น ครูควรกำหนดข้อตกลงกับเด็กๆ เลยว่า มุมหนึ่งเล่นได้ 5 คน (หรืออาจจะกำหนดไว้ว่า 6 คนก็ได้) เมื่อมีข้อตกลงแล้วว่า มุมหนึ่งเล่นได้กี่คน คุณครูต้องยืนยันในข้อตกลงนั้นตลอดเวลา |
|||
“Q: ถ้าจำนวนเด็กเยอะจะวางแผนการเล่นอย่างไร ไม่ให้ใช้เวลานาน ”
ปัญหาหนึ่งที่คุณครูมักพบบ่อยๆ คือ กระบวนการวางแผนใช้เวลานานทำให้เด็กกลุ่มท้ายๆ ที่ได้วางแผนมีเวลาเล่นน้อยไป ในช่วงแรกที่คุณครูกำลังฝึกการวางแผนให้เด็ก ครูต้องยอมที่จะใช้เวลานานในการวางแผน แต่เมื่อเด็กสามารถวางแผนการเล่นได้ดีขึ้น เวลาที่ใช้ก็จะน้อยลงไปด้วย เพราะเด็กแต่ละคนใช้เวลาคิดน้อยลงทำให้ครูกระชับเวลาได้ดีขึ้น ถึงแม้กลุ่มสุดท้ายเวลาเล่นจะน้อย แต่ด้วยระบบการจัดการของครูในการจดบันทึกการเข้ามุมและให้เด็กทบทวน ทำให้แต่ละวันกลุ่มที่เป็นกลุ่มสุดท้ายจะไม่ซ้ำกัน (ไม่ใช่กลุ่มเดิมวางแผนสุดท้ายตลอด) ก็ทำให้เพิ่มโอกาสในการเล่นที่มากขึ้นให้กับเด็กแล้ว |
|||
“Q: เด็กเลือกมุมเดิมซ้ำๆ ทุกวัน ครูจะทำอย่างไร” คุณครูอาจจะมีโอกาสเจอเด็กที่เลือกมุมเดิมซ้ำๆ ทุกวัน จะเปลี่ยนบ้างเมื่อมุมที่เลือกเป็นลำดับแรกเต็ม คุณครูอาจเกิดความกังวลว่าทำไมเด็กจึงเล่นแต่มุมเดิม ถ้าเล่นมุมเดิมซ้ำๆ แล้วเด็กจะได้เล่น ได้รับประสบการณ์ต่างๆ และเกิดการเรียนรู้มากพอหรือไม่ เมื่อเกิดความกังวลแล้วคุณครูก็อาจจะพยายามให้เด็กเปลี่ยนมุมที่จะเลือก คุณครูพยายามได้แต่ไม่ควรบังคับเด็กให้เลือกมุมอื่น เพราะหลักการของ HighScope ที่ควรคำนึงถึงเสมอคือ เด็กได้วางแผนและเลือกทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ ถึงแม้ว่าเด็กจะเลือกมุมเดิมซ้ำๆ แต่คุณครูสังเกตพบว่า เด็กมีการเล่นที่หลากหลาย ใช้วัสดุ – อุปกรณ์ในการเล่นแต่ละครั้งแตกต่างกัน มีการเล่นที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เช่น เดือนที่ 2 เลือกมุมบ้านเขาไปตำส้มตำ เดือนที่ 3 ยังเลือกมุมบ้านอยู่ แต่เปลี่ยนเป็นเล่นทำอาหารหลายชนิด ทั้งต้มไข่ ตำส้มตำ ต้มแกง มีการปรุงรส ตักใส่ชาม นั่นแสดงให้เห็นว่าเด็กมีการเรียนรู้ และพัฒนาการเล่นของตนไปเรื่อยๆ คุณครูก็ไม่จำเป็นต้องกังวล กับการที่เด็กเลือกมุมเดิมซ้ำบ่อยๆ เมื่อครูต้องการให้เด็กเปลี่ยนมุมที่ต้องการเล่น ไม่เลือกมุมเดิมซ้ำๆ ควรใช้วิธีการกระตุ้นเด็กมากกว่าบังคับ ครูไม่ควรสั่งหรือกำหนดกติกาว่า ห้ามเลือกมุมซ้ำกับเมื่อวาน หรือ ห้ามเลือกมุมซ้ำกับเพื่อนคนอื่นๆ ในกลุ่ม โดยวิธีการกระตุ้นที่ครูสามารถปฏิบัติได้ ได้แก่ 1) เพิ่มของเล่นใหม่ๆ ในมุมอื่นๆ แล้วบอกเด็กในห้องว่ามีของเล่นใหม่ที่มุมไหน แนะนำพร้อมสาธิตวิธีการเล่นของเล่นใหม่ ก่อนเด็กๆ จะวางแผน เช่น คุณครู : เด็กๆ คะ วันนี้คุณครูมีของเล่นใหม่ในมุมบ้านนะคะ เป็นชุดตรวจคุณหมอ (ครูอธิบายและสาธิตวิธีการเล่น ดูในหัวข้อการแนะนำมุม แนะนำของเล่น) ถ้าใครสนใจ ไปเล่นที่มุมบ้านได้นะคะ 2) ใช้สิ่งที่เด็กสนใจมาเป็นประเด็นในการชักชวน เช่น เมื่อน้องพัฒเลือกมุมวิทยาศาสตร์เพื่อจะเล่นไดโนเสาร์ทุกๆ วัน คุณครูอาจจะใช้วิธีการ คือ คุณครู : น้องพัฒ ในมุมหนังสือมีหนังสือเกี่ยวกับไดโนเสาร์ด้วยนะคะ สนใจไปอ่านหนังสือไดโนเสาร์ไหมคะ |
|||
1.3 แผ่นวางแผน | |||
Q: แผ่นวางแผนสำคัญอย่างไร ใช้เพื่ออะไร | |||
Q: แผ่นวางแผนควรใช้แบบไหน ผลิตจากอะไร | |||
1.4 บันทึกการเข้ามุม | |||
Q: บันทึกการเข้ามุมคืออะไร | |||
Q: บันทึกการเข้ามุมใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง | |||
Q: บันทึกการเข้ามุมทำอย่างไร | |||
Q: ต้องบันทึกเด็กทุกคน ทุกวันหรือไม่ | |||
2. การลงมือปฏิบัติ (Do) | |||
2.1 เด็กแย่งของเล่นกัน | |||
Q: เด็กแย่งของเล่นกันทำอย่างไรดี | |||
Q: วิธีป้องกันไม่ให้เด็กแย่งของเล่นกัน | |||
2.2 เด็กไม่เข้ามุมที่ตนเองเลือก/เด็กต้องการเปลี่ยนมุม | |||
Q: เมื่อเด็กไม่เข้ามุมที่ตนเลือกจะทำอย่างไร | |||
Q: เด็กต้องการเปลี่ยนมุม ทำอย่างไร | |||
Q: เหตุใดจึงไม่ควรให้เด็กเปลี่ยนมุม | |||
2.3 เด็กเล่นของเล่นผิดวิธี / สร้างสรรค์การเล่นแบบใหม่ | |||
Q: อย่างไรจึงจะเรียกว่าเล่นผิดวิธี | |||
Q: สร้างสรรค์การเล่นแบบใหม่คืออะไร | |||
Q: ตัดสินอย่างไรว่าเล่นผิดวิธีหรือสร้างสรรค์การเล่นแบบใหม่ | |||
Q: ทำอย่างไรเมื่อเด็กเล่นผิดวิธี | |||
2.4 การเก็บของเล่น | |||
Q: เก็บของเล่นมีประโยชน์อย่างไร | |||
Q: เด็กเก็บของเล่นเองได้จริงหรือ | |||
Q: เริ่มต้นอย่างไร เด็กจึงยอมเก็บของเล่น | |||
Q: ถ้าเด็กไม่ยอมเก็บของเล่น ทำอย่างไร | |||
2.5 บทบาทของครูขณะที่เด็กเล่นมุม | |||
Q: ครูทำอะไรขณะเด็กเล่นในมุม | |||
Q: ครูมีคนเดียวทำอย่างไร | |||
3. การทบทวนการเล่น (Review) | |||
3.1 การทบทวนการเล่น | |||
Q: ทบทวนการเล่นเพื่ออะไร | |||
Q: ขั้นตอนการทบทวนการเล่นมีอะไรบ้าง | |||
Q: ถ้าเด็กไม่ยอมพูดตอนทบทวนการเล่น | |||
Q: ทบทวนการเล่นแบบไหน จึงเรียกว่าน่าสนใจ ตรงนี้มีประเด็นเรื่องคำว่าน่าสนใจ ที่อาจจะเปลี่ยนค่ะ แต่ยังนึกไม่ออก | |||
Q: คำถามของเด็กสำคัญอย่างไร | |||
Q: ทำอย่างไรให้เด็กถามคำถาม | |||
Q: การแนะนำตัว และเล่าว่าไปเล่นอะไรมา | |||
3.2 การถามเสริมจากครู | |||
Q: ทำไมต้องมีการถามเสริม | |||
Q: ครูควรถามเสริมเมื่อไร | |||
Q: คำถามที่ครูควรใช้ถาม เป็นแบบไหน | |||
3.2 พัฒนาการการทบทวนการเล่นของเด็ก | |||
3.3 เด็กที่ฟังเพื่อนทบทวนการเล่น | |||
Q: ทำอย่างไร เมื่อเด็กขาดความสนใจในการฟังเพื่อนทบทวน ย้ายมาจากทบทวนการเล่นค่ะ |